ขอต้อนรับเข้าสู่บล็อกของน.ส.ศิราณี ฉิมอ่อง วิชาหลักการและทฤษฎีเทคโนโลยี คะ

วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552

วิธีการสอน

ขั้นตอนในการสอนแบบอุปนัย (อุปมาน)
1. ขั้นเตรียม คือการเตรียมตัวของนักเรียน เป็นการทบทวนความรู้เดิม กำหนดจุดมุ่งหมาย และอธิบายความมุ่งหมายให้นักเรียนได้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง
2. ขั้นสอนหรือขั้นแสดง คือการเสนอตัวอย่างหรือกรณีต่างๆ ให้นักเรียนได้พิจารณาเพื่อให้นักเรียนสามารถเปรียบเทียบ สรุปกฎเกณฑ์ได้ การเสนอตัวอย่างควรเสนอหลายๆ
3. ขั้นเปรียบเทียบและรวบรวม เป็นขั้นหาองค์ประกอบรวม คือการที่นักเรียนได้มีโอกาสพิจารณาความคล้ายคลึงกันขององค์ประกอบในตัวอย่างเพื่อเตรียมสรุปกฎเกณฑ์ ไม่ควรรีบร้อนหรือเร้าเกินไป
4. ขั้นสรุป คือการนำข้อสังเกตต่างๆ จากตัวอย่างมาสรุปเป็นกฎเกณฑ์ นิยาม หลักการ หรือสูตรด้วยตัวนักเรียนเอง
5. ขั้นนำไปใช้ คือขั้นทดลองความเข้าใจของนักเรียนเกี่ยวกับกฎเกณฑ์หรือข้อสรุปที่ได้ทำมาแล้วว่าสามารถที่จะนำไปใช้ในปัญหาหรือแบบฝึกหัดอื่นๆ ได้หรือไม่

วิธีสอนแบบสาธิต
1. ขั้นเตรียมการสอน
- กำหนดจุดประสงค์ในการสาธิตให้ชัดเจน
- จัดลำดับเนื้อหาตามขั้นตอนให้เหมาะสม
- เตรียมกิจกรรมการเรียนการสอน สิ่งที่จะให้นักเรียนปฏิบัติ ตลอดจนคำถามที่จะใช้ให้รอบคอบ
- เตรียมสื่อการเรียนการสอนและเอกสารประกอบให้พร้อม
- กำหนดเวลาในการสาธิตให้พอเหมาะ
- กำหนดวิธีการวัดผลประเมินผลที่ชัดเจน
- เตรียมสภาพห้องเรียนให้เหมาะสมเพื่อให้นักเรียนมองเห็นการสาธิตได้ทั่วถึง
- ทดลองสาธิตเพื่อให้แน่ใจว่าไม่เกิดการติดขัด
2. ขั้นการสาธิต
- บอกจุดประสงค์การสาธิตให้นักเรียนทราบ
- บอกกิจกรรมที่นักเรียนจะต้องปฏิบัติ เช่น นักเรียนจะต้องจดบันทึก สังเกตกระบวนการ สรุปขั้นตอน ตอบคำถาม เป็นต้น
- ดำเนินการสาธิตตามลำดับขั้นตอนที่เตรียมไว้ ประกอบกับการอธิบายอย่างมากน้อยเพียงใด
3. ขั้นสรุปประเมินผล
- ผู้สอนเป็นผู้สรุปความสำคัญ ขั้นตอนของสิ่งที่สาธิตนั้นด้วยตนเอง
- ให้ผู้เรียนเป็นผู้สรุป เพื่อประเมินว่าผู้เรียนมีความเข้าใจในบทเรียนนั้นๆ มากน้อยเพียงใด
- ผู้สอนอาจใช้วิธีการต่างๆ เพื่อประเมินว่าผู้เรียนเข้าใจเนื้อเรื่อง ขั้นตอนการสาธิตมากน้อยเพียงใด เช่น ให้ตอบคำถาม ให้เขียนรายงาน ให้แสดงการสาธิตให้ดู ฯลฯ
- ผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถามหรือแสดงความคิดเห็นภายหลังการสาธิตแล้ว

วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม
ขั้นตอนการสอน
1. ขั้นเตรียม เป็นขั้นที่ผู้สอนจัดเตรียมวางแผนการสอน โดยเตรียมหัวข้องานที่จะมอบหมายให้ทำเป็นกลุ่ม กำหนดจุดมุ่งหมาย เวลา วิธีการ ตลอดจนเตรียมสื่อการสอนและเอกสารที่ต้องใช้ในการสอน
2. ขั้นดำเนินการสอน ประกอบด้วย
2.1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เป็นขั้นจูงความสนใจของผู้เรียนเข้าสู่บทเรียน ให้ผู้เรียนเกิดความพร้อมที่จะเรียนรู้ อาจใช้วีทบทวนความรู้เดิม สนทนา ซักถาม อภิปรายนำเรื่อง ฯลฯ นอกจากนี้ ผู้สอนควรได้แจ้งจุดประสงค์การสอน แจ้งขั้นตอนการทำกิจกรรม กำหนดเวลา และข้อตกลงอื่นๆ ให้ผู้เรียนเข้าใจตรงกันก่อนเข้ากลุ่มทำกิจกรรม
2.2 ขั้นสอน มีลำดับดังนี้
- แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มตามจำนวนที่เหมาะสม ให้ใช้วิธีการแบ่งกลุ่มที่น่าสนใจ
- ให้แต่ละกลุ่มเลือกประธาน เลขานุการ
- แจกเอกสาร บัตรคำถาม หรือสื่อการเรียนที่กลุ่มจำเป็นต้องใช้ในการทำกิจกรรมกลุ่ม
- ให้กลุ่มทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายภายในเวลาที่กำหนด
- ให้แต่ละกลุ่มรายงานผลงานของกลุ่มตามที่ผู้สอนกำหนด
2.3 ขั้นสรุป
- ให้ผู้เรียนอภิปรายร่วมกันเพื่อสรุปความสำคัญจากการรายงานของแต่ละกลุ่มและผู้สอนให้ข้อเสนอแนะพร้อมแนวคิดในการประยุกต์ใช้
3. ขั้นประเมินผล เป็นขั้นที่ผู้สอนประเมินผลการทำงานกลุ่มมากน้อยเพียงใด ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในบทเรียน เกิดเจตคติและทักษะในหารทำงานกลุ่มมากน้อยเพียงใด บรรลุตามจุดประสงค์หรือไม่ ผู้สอนควรได้ประเมินพฤติกรรมของผู้เรียนในด้านต่างๆ ด้วย เช่น ความกระตือรือร้นในการแบ่งกลุ่ม การแสดงความคิดเห็น การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ความร่วมมือ ความรับผิดชอบ ความสนใจ ความกล้าแสดงออก ลักษณะการเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี ฯลฯ เป็นต้น
วิธีสอนแบบบรรยาย
1. ขั้นเตรียมการสอน
- วินิจฉัยผู้เรียน โดยพิจารณาถึงพื้นความรู้ ประสบการณ์เดิม ความสามารถของผู้เรียน อาจใช้วิธีพูดคุย ซักถาม สัมภาษณ์ หรือใช้แบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อประโยชน์ในการเตรียมเนื้อหาและวิธีการสอน
- เตรียมเนื้อหา โดยพิจารณาถึงความละเอียด ลึกซึ้ง มากน้อย และลำดับของเนื้อหาให้เหมาะสมกับเวลาและลักษณะของผู้เรียน
- เตรียมคำถาม เพื่อใช้ถามผู้เรียนระหว่างการบรรยาย จะช่วยให้ผู้เรียนตื่นตัวและสนใจได้ดีขึ้น
- เตรียมสื่อการเรียนการสอน โดยเตรียมสื่อให้พร้อมอยู่ในสภาพใช้การได้ดี อาจเป็น สไลด์ แผ่นใส ภาพ ของจำลอง ของจริง ฯลฯ จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้ดีขึ้น
- เตรียมการวัดผลประเมินผล อาจจัดทำเป็นแบบทดสอบหลังการเรียน เป็นแบบฝึกหัด หรือการถามคำถามเพื่อวัดดูว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ และมากน้อยเพียงใด

2. ขั้นสอน
ขั้นนำ
- ซักถามพูดคุยกับผู้เรียนเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มเรียน
- ทบทวยการบรรยายในครั้งก่อนเพื่อเชื่อมโยงกับเรื่องใหม่
ขั้นอธิบาย
- บอกโครงเรื่อง ขอบข่ายของเนื้อหา และแจ้งจุดประสงค์ของบทเรียน
- อธิบายให้ชัดเจนตามลำดับเนื้อหาอย่างต่อเนื่องกัน
- สังเกตปฏิกิริยาของผู้เรียนตลอดเวลาเพื่อการย้ำซ้ำ หรือหยุดทบทวยใหม่
- ถามคำถามในบางตอนเพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน และทดสอบความเข้าใจ
- ยกตัวอย่างประกอบ เพื่อเพิ่มความแจ่มแจ้งในบทเรียน
- ใช้น้ำเสียง บุคลิกภาพท่าทาง ท่าทีการพูดอธิบาย การใช้ภาษา และอารมณ์ขันที่เหมาะสม
ขั้นสรุป
- สรุปโยงเนื้อเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ
- ตั้งปัญหาให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์วิจารณ์
- ฝากปัญหาให้ผู้เรียนไปติดต่อ
- เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถามปัญหา
- มอบหมายงานให้ผู้เรียนไปค้นคว้าเพิ่มเติม
- ควรได้บอกล่วงหน้าถึงเนื้อหาที่จะเรียนในครั้งต่อไป

3. ขั้นติดตามผล
วัดผลประเมินผลผู้เรียน
- ตรวจสมุดบันทึกที่ผู้เรียนจดคำบรรยาย
- ถามคำถามในเนื้อหาที่บรรยาย
- ให้ทำข้อทดสอบ หรือแบบฝึกหัดเพิ่มเติม
วัดผลประเมินผู้สอน
- จัดทำแบบสอบถามให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการสอน การอธิบาย การใช้น้ำเสียง บุคลิกท่าทาง ฯลฯ
- ให้เพื่อนครูได้เข้าสังเกตการสอน แล้วให้ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นประโยชน์แก่การสอน
- ใช้เทปบันทึกเสียงบันทึกการบรรยายของตน แล้วนำไปเปิดฟังเพื่อพิจารณาประเมินตนเอง

วิธีสอนแบบนิรนัย (อนุมาน)
ขั้นตอนในการสอนแบบนิรนัย
1. ขั้นอธิบายปัญหา ระบุสิ่งที่จะสอนในแง่ของปัญหา เพื่อยั่วยุให้นักเรียนเกิดความสนใจที่จะหาคำตอบ ปัญหาจะต้องเกี่ยวกับสถานการณ์จริงของชีวิต และเหมาะสมกับวุฒิภาวะของนักเรียน
2. ขั้นอธิบายข้อสรุป ได้แก่การนำเอาข้อสรุปกฎหรือนิยามมากกว่า 1 อย่างมาอธิบายเพื่อให้นักเรียนได้เลือกใช้ในการแก้ปัญหา
3. ขั้นตกลงใจ เป็นขั้นที่นักเรียนจะเลือกข้อสรุป กฎหรือนิยามที่จะนำมาใช้ในการแก้ปัญหา
4. ขั้นพิสูจน์ หรืออาจเรียกว่าขั้นตรวจสอบ เป็นขั้นที่สรุปว่า หรือ นิยามว่าเป็นความจริงหรือไม่ โดยการปรึกษาครู ค้นคว้าจากตำราต่างๆ และจากการทดลองข้อสรุปที่ได้พิสูจน์ว่าเป็นความจริงจึงจะเป็นความรู้ที่ถูกต้อง

วิธีสอนแบบทดลอง
ขั้นตอนการสอน
ขั้นตอนการสอนโดยการทดลอง มี 4 ขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นเตรียมการทดลอง
1.1 กำหนดจุดประสงค์ ผู้สอนต้องศึกษาหลักสูตร คู่มือครู หรือแผนการสอน แล้วตั้งจุดประสงค์การสอนให้ชัดเจนว่าต้องการให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมแต่ละด้านอย่างไรบ้างจากการเรียนด้วยการลงมือทดลองปฏิบัติ
1.2 วางแผนการทดลอง เป็นขั้นที่ผู้สอนต้องลำดับขั้นตอนการสอนและเตรียมกำหนดกิจกรรมไว้ล่วงหน้าว่าจะนำเข้าสู่บทเรียนอย่างไร ให้ผู้เรียนได้ทดลองตามลำดับขั้นอย่างไรบ้าง สรุปผลการทดลองและเสนอผลตอนใด อย่างไร หรือโดยวิธีใด เป็นต้น
1.3 จัดเตรียมวัสดุและเครื่องมือ ตลอดจนแบบบันทึกผลการทดลองและแบบประเมินผล ผู้สอนต้องเตรียมไว้ให้พร้อม ให้มีจำนวนมากพอเพียงกับจำนวนนักเรียน และอยู่ในสภาพที่ใช้การได้
1.4 ตรวจสอบความถูกต้องและประสิทธิภาพของเครื่องมือ วัสดุที่ใช้ ผู้สอนควรได้ทดลองใช้เครื่องมือก่อนสอน เพื่อให้เห็นปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ล่วงหน้า และเพื่อประโยชน์ในการแนะนำ ตักเตือน ผู้เรียนในขณะทดลอง
1.5 เตรียมแบ่งกลุ่มผู้เรียน ผู้สอนต้องกำหนดกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสม ไม่ควรเป็นกลุ่มใหญ่มาก เพื่อให้ผู้เรียนทุกคนได้เรียนรู้วิธีทดลองอย่างทั่วถึง การแบ่งกลุ่มผู้เรียนนี้ต้องสอดคล้องกับจำนวนวัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ์ที่มีอยู่
2. ขั้นทดลอง
2.1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เป็นขั้นเร้าความสนใจ ผู้สอนควรได้แจ้งจุดประสงค์การทดลอง ขั้นตอน วิธีการทดลอง แนะนำการใช้เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ให้ผู้เรียนได้ทราบบทบาทของตน และให้ศึกษาคู่มือปฏิบัติการก่อนการลงมือทดลอง
2.2 ขั้นทดลอง ผู้เรียนเป็นผู้ดำเนินการทดลอง โดยมีผู้สอนคอยดูแล แนะนำช่วยเหลือ ถ้าเป็นการทดลองที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ผู้สอนต้องควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด
3. ขั้นเสนอผลการทดลอง ผู้เรียนนำเสนอผลการทดลอง และรายละเอียดประกอบ เช่น โครงการทดลอง การเตรียมการ วีการทดลอง และผลที่ได้จากการทดลอง
4. ขั้นอภิปรายสรุปผล ในขั้นนี้ผู้เรียนจะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ตนได้รับ เช่น บางกลุ่มอาจได้ผลการทดลองที่คลาดเคลื่อนก็จะได้ช่วยกันวิเคราะห์หาสาเหตุว่าผิดพลาดที่ขั้นตอนใดและมีแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างไร ในขั้นนี้ผู้สอนจะมีบทบาทในการให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมย้ำประเด็นสำคัญ และสรุปหลักการ ความคิดรวบยอดที่ได้จากการทดลอง
5. ขั้นประเมินผล เมื่อการอภิปรายสรุปผลเสร็จสิ้นลง ผู้สอนควรได้ประเมินผลผู้เรียนในด้านต่างๆ และแจ้งให้ผู้เรียนทราบเพื่อการปรับปรุงแก้ไขในการทดลองที่จะมีขั้นในครั้งต่อไป เช่น ประเมินด้านการใช้เครื่องมือ ด้านความละเอียดรอบคอบในการทดลอง ด้านการจดบันทึกผลการทดลอง ด้านการรายงานผล ด้านการให้ความร่วมมือกับกลุ่ม เป็นต้น

วิธีสอนแบบแก้ปัญหา
ขั้นตอนการสอน
1. ขั้นเตรียม
1.1 ผู้สอนศึกษาแผนการสอน เนื้อหา และจุดประสงค์การสอนอย่างละเอียด
1.2 ผู้สอนวางแผนกำหนดกิจกรรมที่จะให้ผู้เรียนปฏิบัติเป็นขั้นตอนตามลำดับ
2. ขั้นดำเนินการสอน
2.1 ขั้นกำหนดขอบเขตของปัญหา เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนมองเห็นปัญหา และกำหนดขอบเขตของปัญหา ผู้สอนอาจใช้วิธีเล่าเรื่อง สร้างสถานการณ์จำลอง อภิปราย ศึกษากรณีเฉพาะราย ฯลฯ เพื่อให้ผู้เรียนได้เห็นปัญหานั้น ถ้ามีหลายปัญหา อาจแยกเป็นข้อๆ ได้ ดังนั้น บทบาทของผู้สอนในขั้นนี้คือ
- นำทางให้ผู้เรียนเห็นปัญหา
- จัดสิ่งแวดล้อมให้ผู้เรียนเข้าใจปัญหา
- ช่วยตั้งจุดมุ่งหมายในการแก้ปัญหาให้ทุกคนเข้าใจได้ตรงกัน
2.2 ขั้นตั้งสมมุติฐาน เป็นขั้นวางแนวทางที่จะหาคำตอบของปัญหา โดยให้ผู้เรียนตั้งสมมุติฐานว่า ปัญหานั้นน่าจะมีสาเหตุมาจากอะไร หรือวิธีการแก้ปัญหานั้นน่าจะแก้ไขได้โดยวิธีใดบ้าง บทบาทของผู้สอนในขั้นนี้คือ
- ช่วยผู้เรียนวางแผนจะแก้ปัญหาได้โดยวิธีใดบ้าง
- แบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มรับผิดชอบงานตามความสามารถและความสนใจ
2.3 ขั้นรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นที่ผู้เรียนศึกษาความรู้จากแหล่งต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลใช้ในการแก้ปัญหา โดยอาจค้นคว้าจากตำรา เอกสารต่างๆ จากการสัมภาษณ์ ซักถามผู้เชี่ยวชาญ ฯลฯ แล้วจดบันทึกข้อมูลไว้ บทบาทของผู้สอนในขั้นนี้คือ
- แนะนำแหล่งความรู้เพื่อค้นคว้าหาข้อมูล
- ติดต่อบุคคลที่เป็นผู้เชี่ยวชาญล่วงหน้าเพื่อให้สัมภาษณ์แก่ผู้เรียน
2.4 ขั้นทดลองและวิเคราะห์ข้อมูล เป็นขั้นที่ผู้เรียนนำข้อมูลมาพิจารณาโดยเริ่มจากการทดลองปฏิบัติดู และนำผลจากการทดลองมาวิเคราะห์ว่าวิธีใดใช้ได้ผลในการแก้ปัญหา อาจใช้ได้หลายวิธีแตกต่างกันไป บทบาทของผู้สอนในขั้นนี้คือ
- สังเกตการทดลองหรือวิธีการแก้ปัญหาของผู้เรียน และให้คำแนะนำเมื่อจำเป็น
- อำนวยความสะดวกด้านวัสดุอุปกรณ์ และสิ่งจำเป็นต่างๆ ที่ผู้เรียนต้องการใช้ในการทดลองและการวิเคราะห์ข้อมูล
2.5 ขั้นประเมินและสรุปผล เป็นขึ้นสุดท้ายของลำดับขั้นสอน เมื่อผู้เรียนได้ทำการทดลองและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้แล้ว ผู้เรียนย่อมสามารถประเมินผลวิธีการแก้ปัญหาและสรุปได้ว่า วิธีการใดได้ผลดีที่สุดในการแก้ปัญหานั้น บทบาทของผู้สอนในขั้นนี้คือ
- ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มรายงานวิธีการแก้ปัญหาตั้งแต่ขั้นที่ 1 จนถึงขั้นที่ 5
- ผู้สอนอภิปรายซักถามผู้เรียน ช่วยเสริมและสรุปประเด็นว่าสำคัญของการเรียนการสอนครั้งนี้
3. ขั้นประเมินผล
ผู้สอนประเมินผลการทำงานของผู้เรียน แล้วแจ้งให้ผู้เรียนทราบข้อดีและข้อบกพร่องเพื่อปรับปรุงแก้ไขต่อไป

วิธีสอนแบบวัฎจักร การสืบเสาะหาความรู้
การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบวัฏจักร การสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน เพื่อพัฒนากระบวนการคิด
ระดับสูงการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิดเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในสังคมโลกปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีที่ไร้ขีดจำกัด การแข่งขันทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศต้องพึ่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อีกทั้งการดำเนินชีวิตของมนุษย์จะต้องเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิด สิ่งที่ติดตัวนักเรียนไปคือวิธีการคิด กระบวนการคิด กระบวนการแสวงหาความรู้ ความสามารถในการกล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก ซึ่งคุณลักษณะเหล่านี้จะกลายเป็นลักษณะนิสัยของผู้เรียนที่จบการศึกษาแล้วจะเป็น “บุคคลที่คิดเป็น รักการเรียนรู้ตลอดชีวิต”
...........สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักสูตรและการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาและส่งเสริม ด้านกระบวนการคิดมาตลอด โดยการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Approach) ที่บูรณาการเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาสาระการเรียนวิทยาศาสตร์กับการพัฒนากระบวนการคิด การสำรวจตรวจสอบเพื่อการค้นพบและการแก้ปัญหาซึ่งเป็นการปลูกฝังคุณลักษณะของนักวิทยาศาสตร์ ให้เกิดขึ้นในตัวเด็ก ที่สำคัญที่สุดก็คือ การพัฒนาปลูกฝังให้ “เด็กคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น”
..........ดังนั้นในปี พ.ศ.2544 – 2547 สาขาชีววิทยา สสวท.ได้ดำเนินการวิจัยการศึกษาการจัดกระบวนการเรียนรู้วิชาชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อพัฒนาความคิดระดับสูง คือ ความคิดวิจารณญาณ ความคิดสร้างสรรค์และความแก้ปัญหา ที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติ เชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้เข้ากับประสบการณ์ หรือความรู้เดิมเป็นองค์ความรู้หรือแนวความคิดของผู้เรียนเอง โดยใช้รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) (2) ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) (3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) (4) ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) และ (5) ขั้นประเมินผล (Evaluation) ซึ่งเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดเวลา ให้โอกาสแก่ผู้เรียนได้ฝึกคิด ฝึกสังเกต ฝึกนำเสนอ ฝึกวิเคราะห์วิจารณ์ ฝึกสร้างองค์ความรู้ โดยมีครูเป็นผู้กำกับควบคุมดำเนินการให้คำปรึกษาชี้แนะ ช่วยเหลือ ให้กำลังใจ เป็นผู้กระตุ้น ส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดและเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กิจกรรมแต่ละขั้นตอนมีสาระสำคัญ ดังนี้
1.ขั้นสร้างความสนใจ เป็นการจัดกิจกรรมหรือสถานการณ์ที่กระตุ้น ยั่วยุ ให้ผู้เรียนเกิดความสงสัย ใคร่รู้อยากรู้อยากเห็น แล้วเกิดปัญหาหรือประเด็นที่จะศึกษา ซึ่งผู้เรียนจะต้องสำรวจตรวจสอบต่อไปด้วยตัวของผู้เรียนเอง
2.ขั้นสำรวจและค้นหา เป็นการจัดกิจกรรมหรือสถานการณ์ที่ให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ร่วมกันเป็นกลุ่มในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ โดยการวางแผนกำหนดการสำรวจตรวจสอบ และลงมือปฏิบัติ ในการสำรวจตรวจสอบปัญหาหรือประเด็นที่ผู้เรียนสนใจใคร่รู้ ครูมีหน้าที่ส่งเสริม กระตุ้น ให้คำปรึกษาชี้แนะ ช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนดำเนินการสำรวจตรวจสอบเป็นไปด้วยดี
3.ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป เป็นการจัดกิจกรรมหรือสถานการณ์ที่ให้ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ใหม่ร่วมกันทั้งชั้นเรียน โดยนำเสนอองค์ความรู้ที่ได้จากการสำรวจ ตรวจสอบ พร้อมทั้งวิเคราะห์ อธิบาย และเปิดโอกาสให้มีการอภิปรายซักถามแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือโต้แย้งในองค์ความรู้ใหม่ที่ได้สร้างสรรค์ มีการอ้างอิงหลักฐาน ทฤษฎี หลักการ กฎเกณฑ์ หรือองค์ความรู้เดิม แล้งลงข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผล
4.ขั้นอธิบายความรู้ เป็นการจัดกิจกรรมหรือสถานการณ์ที่ให้ผู้เรียนได้เพิ่มเติมหรือเติมเต็มองค์ความรู้ใหม่ให้กว้างขวางสมบูรณ์ กระจ่างและลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดยการอธิบายยกตัวอย่าง อภิปรายซักถามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเชื่อมโยงความรู้เดิมสู่องค์ความรู้องค์ความรู้ใหม่อย่างเป็นระบบละเอียดสมบูรณ์ นำไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่นๆ หรือในชีวิตประจำวัน หรือผู้เรียนอาจจะเกิดปัญหาสงสัยใคร่รู้ นำไปสู่การศึกษาค้นคว้า
5.ขั้นประเมินผล เป็นการจัดกิจกรรมหรือสถานการณ์ที่ให้ผู้เรียนได้ประเมินกระบวนการสำรวจตรวจสอบและผลการสำรวจตรวจสอบ หรือองค์ความรู้ใหม่ของตนเองและของเพื่อนร่วมชั้นเรียนโดยการวิเคราะห์วิจารณ์ อภิปรายซักถามแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ซึ่งกันและกันในเชิงเปรียบเทียบประเมินจุดดีหรือจุดด้อย ปรับปรุง หรือทบทวนใหม่ และให้ครูได้ประเมินกระบวนการสร้างองค์ความรู้ใหม่ของผู้เรียน เน้นการประเมินตามสภาพจริงในระหว่างการจัดการเรียนรู้ เพื่อปรับปรุงพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
.......... เมื่อผู้เรียนเกิดปัญหาสงสัยใคร่รู้ นำไปสู่การศึกษาค้นคว้า ทดลอง หรือสำรวจตรวจสอบต่อไปจะทำให้เกิดกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ที่ต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ เรียกว่า วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry cycle)
..........ผลการวิจัยพบว่า การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน สามารถพัฒนาผู้เรียนให้กล้าคิด กล้าทำ กล้าซักถาม กล้าโต้แย้ง กล้าแสดงออก รู้จักคิดวิเคราะห์ มีความคิดหลากหลาย มีจิตวิทยาศาสตร์ บรรยากาศการเรียนการสอนดี เป็นบรรยากาศการเรียนรู้อย่างอิสระและสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เอื้อให้ผู้เรียน กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก และพัฒนากระบวนการคิด พบว่าผู้เรียนมีความพึงพอใจในกระบวนการเรียนรู้แบบนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้เรียนได้ทำการทดลอง และมีการอภิปรายซักถาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสามารถโต้แย้งกันได้ นอกจากนี้ผู้เรียนยังมีเจตคติที่ดีต่อโครงการวิจัยนี้ว่า ดีใจและภูมิใจที่ได้เข้าร่วมโครงการ ต้องการให้มีโครงการนี้ต่อไป ควรให้ทุกโรงเรียนและทุกวิชาจัดการเรียนการสอนแบบนี้ และควรเริ่มตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา เด็กไทยจะได้กล้าคิดกล้าแสดงออก มีความรู้หลากหลาย ซึ่งจะทำให้การศึกษาไทยได้พัฒนายิ่งขึ้น
.......... จากผลการวิจัยดังกล่าว ในปีพ.ศ. 2548 – 2549 สสวท. สาขาวิชาชีววิทยา จึงจัดทำโครงการประชุมปฏิบัติเผยแพร่ขยายผลและอบรมรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน เพื่อพัฒนากระบวนการคิดระดับสูง สำหรับครูผู้สอนและศึกษานิเทศก์ เพื่อเผยแพร่ผลการวิจัยสู่การปฏิบัติจริง และสร้างเครือข่ายการขยายผลการอบรม นอกจากนี้ยังมีการนิเทศติดตามผลเชิงลึกโดยการสังเกตการสอน และสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบกัลยาณมิตร และในปี 2549 จัดทำโครงการอีกหนึ่งโครงการ คือ โครงการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาการขยายผลอบรมรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะ
หาความรู้ 5 ขั้นตอน เพื่อสร้างเครือข่ายการขยายผลการอบรมครูโดย สสวท. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ โรงเรียนแกนนำของ สสวท. ในเขตพื้นที่ ร่วมกันขยายผลอบรมครูและศึกษานิเทศก์

วิธีแบบอภิปราย
ขั้นตอนการสอน
1. ขั้นเตรียมอภิปราย ผู้สอนต้องเตรียมในสิ่งต่อไปนี้
1.1 หัวข้อและรูปแบบการอภิปราย เตรียมให้สอดคล้องเหมะสมกับจุดประสงค์ของบดเรียน
เวลาเรียน จำนวนผู้เรียน สถานที่ ฯลฯ เช่น ถ้ามีเวลาจำกัด ควรใช้แบบซุบซิบปรึกษา ( Buzz group) ถ้าต้องการรวบรวมความคิดอาจใช้แบบระดมสมอง (Brain storming) ถ้ามีเวสลาให้ผู้เรียนได้เตรียมเนื้อหาสาระความรู้มาล่วงหน้า ควรใช้แบบซิมโพเซียม (Symposium)
1.2 ผู้เรียน ผู้สอนควรได้ให้ผู้เรียนเตรียมตัวการอภิปรายมาล่วงหน้าทั้งด้านเนื้อหาสาระ และประเด็นความคิดสำคัญและวิธีการพูด จะทำให้ผู้เรียนได้ประโยชน์จากการเรียนแบบอภิปรายอย่างแท้จริง
1.3 ห้องเรียน ผู้สอนควรจัดโต๊ะเก้าอี้ให้เหมาะสมกับรูปแบบการอภิปราย เช่น
- จัดแบบวงกลม หรือครึ่งวงกลม เหมาะสำหรับการอภิปรายแบบระดมสมอง
- จัดแบบรูปตัวยู หรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า เหมาะสำหรับการอภิปรายกลุ่มใหญ่
- จัดแบบรูปตัวที หรือแบบเรียงแถวหน้ากระดาน เหมาะสำหรับการอภิปรายหมู่แบบพาเนล
1.4 สื่อการเรียน อาจต้องใช้เอกสารไว้แจกประกอบการอภิปราย อาจมีการใช้สไลด์ภาพ แผนภูมิ แผ่นใส ฯลฯ เพื่อสรุปผลการอภิปราย หรือประกอบการอภิปรายของแต่ละกลุ่ม ผู้สอนต้องเตรียมไว้ให้พร้อม
2. ขั้นดำเนินการอภิปราย ผู้สอนมีบทสำคัญในการควบคุมการอภิปรายให้ดำเนินไปได้ด้วยดี จึงต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
2.1 บอกหัวข้อหรือปัญหาที่จะอภิปรายให้ชัดเจน
2.2 ระบุจุดประสงค์การอภิปรายให้ชัดเจน
2.3 บอกเงื่อนไขหลักเกณฑ์การอภิปราย เช่น ระยะเวลาที่ใช้ รูปแบบวิธีการอภิปราย บทบาทหน้าที่ของผู้อภิปราย การรายงานผล ตลอดจนมารยาทในการพูด การรับฟังผู้อื่น และการเคารพมติของส่วนรวม
2.4 ให้ดำเนินการอภิปรายโดยผู้สอนควรช่วยเหลือให้การอภิปรายดำเนินไปได้ด้วยดี ขณะที่ผู้เรียนเข้ากลุ่มอภิปราย ผู้สอนไม่ควรเข้าไปกำกับหรือแทรกแซงผู้เรียนตลอด ควรคอยดูแลอยู่ห่างๆ คอยกระตุ้นให้กำลังใจ ให้คำแนะนำ เมื่อผู้เรียนต้องการเท่านั้น
3. ขั้นสรุป ประกอบด้วย
3.1 สรุปผลการอภิปราย เป็นช่วงที่ผู้แทนกลุ่มสรุปผลการอภิปราย นำเสนอผลการอภิปรายต่อที่ประชุมเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เปิดโอกาสให้ผู้ฟังซักถามผู้อภิปรายตอบคำถาม ผู้สอนอาจถามคำถามผู้อภิปรายได้ในสาระสำคัญที่ต้องการให้ผู้เรียนได้รับ ขณะเดียวกันช่วยกลุ่มอภิบายให้เกิดความกระจ่างในเนื้อหาบางตอนได้
3.2 สรุปบทเรียน ผู้สอนเป็นผู้สรุปเนื้อหาสาระสำคัญที่ได้จากการอภิปราย ควรได้เสริมช้อคิดแทรกความรู้ ย้ำประเด็นสำคัญและสรุปแนวคิดหลักให้แก่ผู้เรียน ตลอดจนแนวทางการนำความรู้ไปใช้เป็นประโยชน์ในชีวิต การสรุปนั้นควรสรุปเป็นหัวข้อบนกระดานดำ เพื่อผู้เรียนจะได้เข้าใจชัดเจนและบันทึกไว้ได้ง่าย
3.3 ประเมินผลการเรียน ผู้สอนควรมีการประเมินผลการอภิปรายภายหลังที่สิ้นสุดบทเรียน เพื่อดูว่าการเรียนการสอนในคาบเรียนนั้นๆ ด้วยวิธีการอภิปรายมีคุณค่าหรือมีข้อบกพร่องอย่างไร โดยประเมินให้ครอบคลุมถึงเนื้อหา หัวข้อการอภิปราย จุดประสงค์ รูปแบบพฤติกรรมของผู้เรียน บรรยากาศ สิ่งแวดล้อมต่างๆ ในการอภิปราย ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงการเรียนการสอนด้วยวิธีการอภิปรายครั้งต่อไป

รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
1. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบจิ๊กซอร์ JIGSAW
1.1 จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ (เก่ง-กลาง-อ่อน) กลุ่มละ 4 คนและเรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่มบ้านของเรา (home group)
1.2 สมาชิกในกลุ่มบ้านของเรา ได้รับมอบหมายให้ศึกษาเนื้อหาสาระคนละ 1 ส่วน (เปรียบเสมือนได้ชิ้นส่วนของภาพตัดต่อคนละ 1 ชิ้น) และหาคำตอบในประเด็นปัญหาที่ผู้สอนมอบหมายให้


ที่มา...http://www.vicha.kroophra.net/index.php?option=com_content&task

วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2552

จงตอบคำถามลงในช่องว่างของแต่ละข้อให้ได้ความสมบูรณ์และถูกต้อง

1.การรับรู้ หมายถึงอะไร

...กระบวนการแปลหรือตีความต่อสิ่งเร้าข่าวสารที่ผ่านอวัยวะรับสัมผัสเข้าไปยังสมองในรูปของไฟฟ้าและเคมี

2.อวัยวะรับสัมผัสมี 5 ทาง คือ ตา หู จมูก ลิ้น และ กาย

3.องค์ประกอบของกระบวนการรับรู้มี 3 ประการ ได้แก่

...- อาการรับสัมผัส
...- อาการแปลความหมายของอาการสัมผัส
...-ประสบการณ์เดิม

4.ธรรมชาติของการรับรู้มีอะไรบ้าง

...- การเลือกที่จะรับรู้
...- การจัดหมวดหมู่ของสิ่งเร้าอย่างมีแบบแผน
...- ความต่อเนื่อง
...- ความสมบูรณ์

5.สิ่งต่างๆที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ ได้แก่

...- สิ่งเร้าภายนอก
...- สิ่งเร้าภายใน
...- คุณลักษณะของสิ่งเร้า

6.การเรียนรู้ หมายถึงอะไร

...- การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ก่อนข้างถาวร และพฤติกรรมนี้เป็นผลจากประสบการณ์หรือการฝึกฝนมิใช่การตอบสนองจากธรรมชาติ วุฒิภาวะ หรือความบังเอิญ เป็นต้น

7.จงเขียนแผนภูมิการแบ่งกลุ่มทฤษฎีการเรียนรู้ให้ถูกต้อง

.....ทฤษฎีการเรียนรู้ 1.กลุ่มทฤษฎีสร้างความสัมพันธ์ต่อเนื่อง
-1.1ทฤษฎีการเรียนรู้แบบเชื่อมโยง
-1.2ทฤษฎีการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข
......1.2.1)การเรียนรู้แบบคลาสิค
......1.2.2)การเรียนรุ้แบบจงใจกระทำ
2.กลุ่มทฤษฎีความรู้ความเข้าใจ
- 2.1Gestalt T. .
...... 2.2Field T.

8.บลูม จำแนกพฤติกรรมการเรียนรู้ออกเป็น 3 หมวด ได้แก่

...- พุทธพิสัย
...- จิตพิสัย
...- ทักษะพิสัย

9.สภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้มี 4 ประการ คือ

...- เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
...- ป้อนข้อมูลย้อนกลับทันที
...- จัดประสบการณ์ที่เป็นผลสำเร็จ
...- การประมาณการที่ละน้อย

10.จงเขียนแผนภูมิกระบวนการเรียนรู้ตามแนวพุทธศาสตร์ให้ถูกต้อง
...การรับรู้ตามแนวพุทธศาสตร์-->1.อวัยวะรับสัมผัส} ............................................................การรับสัมผัส การรับรู้ ความรู้สึก ความจำ ความคิด .......................................2.สิ่งเร้าภายนอก}

คำถามท้ายบทเรื่องสื่อการสอน

1.จงบอกความหมายของสื่อการสอนให้ถูกต้อง

...สื่อการสอนหมายถึงวัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการใดๆก็ตามที่เป็นตัวกลางหรือพาหนะในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะและประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน

2.จงอธิบายความสำคัญของสื่อการสอนให้ชัดเจน

...เป็นองค์ประกอบยิ่งอย่างหนึ่งของการศึกษาหรือการเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น

3.จงบอกถึงคุณสมบัติของสื่อการสอนมาอย่างน้อย 3 ข้อ

...1)สามารถจัดยึดประสบการณ์ กิจกรรม และการกระทำต่างๆได้
...2)สามารถจัดแจง ปรับปรุง ประสบการณ์ต่างๆได้ .
...3)สามารถแจกจ่ายและขยายข่าวสารออกเป็นหลายๆฉบับเพื่อเผยแพร่สู่คนจำนวนมาก

4.จงบอกถึงคุณค่าของสื่อการสอนมาอย่างน้อย 5 ข้อ

...1)เป็นศูนย์รวมความสนใจของผู้เรียน
…2)ทำให้บทเรียนเป็นที่น่าสนใจ
...3)ช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์กว้างขวาง
....4)แสดงสิ่งที่ลี้ลับให้เข้าใจง่าย
...5)ทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ร่วมกัน

5.จงยกตัวอย่างคุณค่าของสื่อการสอนในด้านวิชาการ ด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ และด้านเศรษฐกิจศึกษา อย่างน้อยด้านละ 1 ตัวอย่าง

...1)ด้านวิชาการàทำให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรง
.....2)ด้านจิตวิทยาการเรียนรู้àทำให้เกิดความคิดรวบยอดเป็นอย่างเดียวกัน
....3)ด้านเศรษฐกิจการศึกษาàช่วยให้ผู้ที่เรียนได้ช้าเรียนด้ายเร็วและมากขึ้น

6.จงจำแนกประเภทของสื่อให้ถูกต้องและชัดเจน ตอบ...จำแนกประเภทของสื่อได้ดังนี้

....1)จำแนกตามคุณสมบัติ
....2)จำแนกตามแบบ
....3)จำแนกตามประสบการณ์

7.จงบอกหลักการใช้สื่อการสอนให้ถูกต้องชัดเจน

....ควรดำเนินตามขั้นตอนดังนี้
...1)ขั้นการเลือก (Selection)
...2)ขั้นเตรียม (Preparation)
.....3)ขั้นการใช้หรือการแสดง (Presentation)
....4)ขั้นติดตามผล (Follow up)

8.จงอธิบายข้อดีและข้อจำกัดของสื่อการสอนให้ถูกต้องอย่างน้อย 2 ชนิด

...1)หนังสือ สมุดคู่มือ เอกสารอื่นๆ
-ข้อดีคือ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ดีที่สุดสำหรับบางคนได้แก่การอ่าน
-ข้อจำกัดคือต้นทุนการผลิตสูง

จงเติมคำลงในช่องว่างต่อไปนี้ให้สมบูรณ์และถูกต้อง

1.คำว่า Communis แปลว่า คล้ายคลึง หรือร่วมกัน

2.การสื่อความหมาย หมายถึง กระบวนการสั่งหรือถ่ายทอดความรู้ เนื้อหา สาระ ความรู้สึกต่างๆ ตลอดจนประสบการณ์จากฝ่ายหนึ่ง(ผู้ส่งสาร)สู่อีกฝ่ายหนึ่ง(ผู้รับสาร)

3.Sender Message Channel Reciever

4.สาร หมายถึง เนื้อหาสาระ ความรู้สึก ทัศนคติ ทักษะประสบการณ์ที่มีอยู่ในตัวผู้ส่งหรือแหล่งกำเนิด

5.Elemnts หมายถึง องค์ประกอบย่อยๆ พื้นฐานที่จำเป็นต้องมี ตัวอย่างเช่น สระ พยัญชนะ หรือสีแดงสีเหลือง เส้น เป็นต้น

6.Structure หมายถึง โครงสร้างที่นำองค์ประกอบย่อยมารวมกัน ตัวอย่างเช่น คำ ประโยค หรือ สีของรูปร่าง รูปทรง

7.Content หมายถึง ข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิด ความต้องการของผู้ส่ง ตัวอย่างเช่น ข้อมูลเกี่ยวกับอะไร สอดคล้องเหมาะสมกับอะไร

8.Treatment หมายถึง กลุ่มสัญลักษณ์ที่ถูกนำมาจัดแทนความรู้สึกนึกคิด ความต้องการ ตัวอย่างเช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ดนตรี ภาพวาด กริยาท่าทาง

9.Code หมายถึง วิธีการเลือก การจัดรหัสและเนื้อหาให้อยู่ที่ถ่ายทอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น

10.อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายนอก เช่น เสียงดังรบกวน อากาศร้อน แสงแดด

11.อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายใน เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล อาการเจ็บป่วย

12.Encode หมายถึง การแปลความต้องการของคนเป็นสัญลักษณ์หรือสัญญาณต่างๆได้

13.Decode หมายถึง การเลือกสื่อและช่องทางที่ไม่เหมาะสม

14.จงอธิบายการสื่อความหมายในการเรียนการสอนมาให้ครบถ้วนและถูกต้อง
.......กระบวนการเรียนการสอนเป็นกระบวนการสื่อความหมายอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบดัง นี้ ครู เนื้อหา หลักสูตร สื่อหรือช่องทาง นักเรียน

15. จงอธิบายถึงความล้มเหลวของการสื่อความหมายในการเรียนการสอน
...1.ครูผู้สอนไม่บอกวัตถุประสงค์ให้กับผู้เรียน
...2.ผู้สอนไม่คำนึงถึงความสามารถของผู้เรียน
...3.ผู้สอนไม่สร้างความพร้อมให้กับผู้เรียน
...4.ผู้สอนใช้คำยากทำให้ผู้เรียนไม่เข้าใจ
...5.ผู้สอนนำเสนอเนื้อหาวกวน
...6.ผู้สอนใช้สื่อไม่เหมาะสม

ปัญหาและอุปสรรคทางการศึกษา

ปัญหาและอุปสรรคสำคัญมี 5 ประการ คือ


1.ปัญหาบุคคล ได้แก่

*ผู้เรียนขาดการดูแลเอาใจใส่
*คนพิการขาดโอกาสทางการศึกษา
*บุคลากรขาดความเข้าใจในตัวผู้เรียน

2.ปัญหาเครื่องมือ ได้แก่

*ขาดเคื่องมือที่ทันสมัย
*เครื่องมือมีไม่เพียงพอกับผู้ใช้งาน
*ขาดความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือที่ถูกต้อง

3.ปัญหางบประมาณ ได้แก่

*ขาดการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ
*ขาดการช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ
*ใช้งบประมาณที่มีอยู่อย่างไม่มีคุณค่า

4.ปัญหาวิธีการ ได้แก่

*ควรจัดการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน
*ควรจัดการทำงานให้เป็นระบบ
*ควรคิดหาวธีการที่มีประสิทธิภาพ

5.ปัญหาด้านศีลธรรม ได้แก่

*ขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับศีลธรรม
*นำความรู้ที่ได้มาใช้อย่างไม่เหมาะสม
*บุคลากรส่วนใหญ่จะเน้นทางด้านวิชาการมากกว่าศีลธรรม

ตอบคำถามท้ายบทที่1

1.ความหมายของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา

-เทคโนโลยี หมายถึง ระบบการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดมี 3 หลักการ
1.ต้องเป็นระบบ
2.บรรลุเป้าหมาย
3.ต้องประหยัดทรัพยากร -นวัตกรรม หมายถึง การคิดการกระทำใหม่ๆที่ดำเนินการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

2.ตัวอย่างของเทคโนโลยีและนวัตกรรมในสาขาต่างๆ

-เทคโนโลยีทางการทหาร
-เทคโนโลยีทางการแพทย์
-เทคโนโลยีทางการเกษตร
-เทคโนโลยีทางการสื่อสาร
-เทคโนโลยีทางการค้า

3.อธิบายความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศนะทางวิทยาศาสตร์ กายภาพและทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์

-มี 4 กระบวนการ คือ
1.การตั้งจุดมุ่งหมายทางการศึกษาต้องเน้นพฤติกรรมที่วัดและเห็นผล
2.ต้องวิเคราะห์ผู้เรียนในแง่ของความสำเร็จ ความพร้อมและอื่นๆเพื่อจัดการสอนให้เหมาะสม
3.การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์
4.การวัดและประเมิณผล

4.ความหมายของการศึกษาตามความเข้าใจในระดับต่างๆ

-1. บุคคลธรรมดาสามัญ คือการศึกษาแบบอบรมฝึกฝน
-2.บุคคลในวิชาชีพทางการศึกษา
-3.บุคคลที่เป็นนักการศึกษา

5.เทคโนโลยีการศึกษามี 3ระดับ ได้แก่

-1.ระดับอุปกรณ์การสอน เครื่องมือที่ช่วยสอน เช่นโทรทัศน์ แผ่นใส
-2.ระดับวิธีการสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีแทนการสอนของครูด้วยตัวเอง
-3.ระดับการจัดระบบการศึกษา

6.อธิบายข้อแตกต่างและความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรม

-ข้อแตกต่าง คือ เทคโนโลยีประกอบด้วย
1.ข้อมูลที่ใส่เข้าไป
2.กระบวนการ
3.มีผลลัพธ์ ส่วนนวัตกรรมมี3ขั้น คือ
-1.การประดิษฐ์คิดค้น
-2.การพัฒนา
-3.การปฎิบัติจริง

7.ขั้นตอนการเกิดนวัตกรรม มี 3ขั้น คือ

-1. ขั้นการประดิษฐ์
-2. ขั้นการพัฒนา
-3. ขั้นการนำไปใช้หรือปฎิบัติจริง

8.บอกบทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษากับจัดการเรียนการสอน

-1.ช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้กว้างขวางขึ้น
- 2.สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลได้
- 3.จัดการเรียนการสอนได้ดีขึ้น
-4.มีบทบาทสำคัญที่ช่วยพัฒนาสื่อการสอน
-5.ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษา

9.ตัวอย่างนวัตกรรมทางการศึกษาในปัจจุบัน 3ชนิด
-1.การเขียนแบบโปรแกรม
-2.ชุดการสอน
-3.เครื่องช่วยสอน

10.สาเหตุของการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษา

-1.การเพิ่มจำนวนของประชากร
-2.การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
-3.ความก้าวหน้าทางวิทยาการใหม่ๆ

11.อธิบายแนวคิดในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการศึกษาไทย 3 ข้อ

-1.คนไทยส่วนใหญ่ไม่ถือตัว คือขาดความเชื่อมั่นในตัวเองไม่กล้าที่จะตอบคำถามกับครู เป็นต้น
-2.การไม่เห็นคุณค้าของสิ่งแวคล้อม
-3.การขาดลักษณะอันพึงประสงค์

12.ตัวอย่างและแนวทางในการแก้ไขของการขาดลักษณะอันไม่พึงประสงค์ของคนไทย มี3ประการ

-1.กล้าและรู้จักแสดงความคิดเห็น
-2.รู้จัดตัดสินใจในตัวเอง
-3.มีความรับผิดชอบ เขียนโดย การผลิตวัสดุกราฟิก